วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555


1. ชิ้นส่วนต่างๆ ใน computer ที่กินไฟแต่ละส่วน
อุปกรณ์กำลังวัตต์ที่ใช้
CPU Pentium4 3.0 GHz
15
Mother board
5
Hard disk 120 GB SATA30
CD-RW DVD ROM drive30
RAM DDR400 1GB10
Floppy disk drive5
AGP Card30
USB Device3
Keyboard1.25
Mouse1.25
Cooling Fan2
รวม252.5

2. รวมกำลังวัตต์ที่เราคำนวณได้เลือกใช้ Powersupply ให้เหมาะสมเพราะเหตุใด

จะเห็นว่าใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300 W ก็น่าจะเพียงพอ เพราะมันใกล้เคียงกับ Watt ที่ต้องการ เราต้องเผื่อ Watt เอาไว้ให้เครื่องได้ทำงาน ส่วนอื่นๆบ้าง ถ้าหากเราเลือกกำลัง Watt ไม่พอ ก็จะเป็นสาเหตุให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการรวน ต่าง ๆ เช่น เครื่องค้าง (Hang) หน้าจอขึ้นสีฟ้า หรือมีอาการวูบดับไปเฉย ๆ ได้

3. บอกความหมายของคำว่า 80 Plus

80 PLUS คือ มาตราฐานการรองรับของ PSU ที่สามารถจ่ายค่า Power Efficiency ได้สูงกว่า 80% ขึ้นไป
กล่าวคือค่า Power Efficiency ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งถ้าจะอธิบายแล้วก็คือ ปกติกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟเข้ามาจำนวน 220-250V แล้วแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานขนาด 12V, 5V หรือ 3.3V มักจะสูญเสียพลังงานไปบางส่วน ทำให้ตัว PSU ต้องดูดไฟจากโรงงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ของเราใช้เพาเวอร์ที่มีค่า Power Efficiency 70% (ค่ามาตราฐานของ PSU ทั่วๆ ไป) และเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการกระแสไฟฟ้า 280 W แต่เนื่องจากมีการสูญเสียพลังงานระหว่างการแปลงไฟต่างๆ ทำให้ PSU ต้องดูดไฟจากโรงงานเพิ่มเป็น 400 W (คำนวนด้วยสูตร จำนวนวัตต์ที่คอมพิวเตอร์เราต้องการ หารด้วย Power Efficiency แล้วคูณ 100) ซึ่งก็ทำให้เราเสียสตางค์ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนี้จึงเกิดคำมาตราฐาน 80 PLUS ขึ้นซึ่งในปัจจุบัน 80 PLUS ได้ทำการแบ่ง Class ออกเป็นหลาย Class ดังนี้ 


 
 
Class Gold คือดีที่สุด และ ลดลงมาตามลำดับ 2.Silver 3.Bronze 4.standard

หากเราใช้ Power ที่ได้รับการรับรอง 80 plus นี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้ช่วยเหลือสังคม ลดการใช้พลังงาน รวมถึงลดความร้อนภายในโลก ประหยัดค่าไฟ และอีกหลาย ๆ อย่างเลยครับ
 

( PSU = คำย่อ Power Supply Unit )

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบปฏิบัติกลางภาค

1. จงอธิบายหน้าที่ของสวิตชิ่ง มาพอสังเขป

เป็น แหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแรงดันไฟจากไปสลับโวลต์สูง ให้เป็นแรงดันไฟตรง ทำงานด้วยความถี่สูง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะมีการใช้หม้อแปลงที่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อย เมื่อเทียบกับแหล่งจ่ายไฟเชิงเส้น อีกทั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกด้วย

2. แรงดันไฟจ่ายให้กับเพาเวอร์ซัพพลายด้านอินพุท 110 VAC กับ 220 VAC  มีความสำคัญอย่างไร
               
               ในแต่ละประเทศต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้ แต่ประเทศนั่นจะใช้ไฟฟ้าต่างระดับกันคือ 110VAC กับ220VAC บริษัทที่ผลิตเพาเวอร์ซัพพลาย ก็ผลิตเพาเวอร์ซัพพลายที่มีไฟด้านอินพุทมา 2 ระดับให้เลือกคือ110 VAC กับ 220 VAC เพื่อที่จะให้ซัพพลายทำงานไปเลี้ยงคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยผลิตออกมาแล้ว


3. อุปกรณ์ที่เป็น ไดโอด หรือบริด ในวงจรเรกติไฟร์ มีความสำคัญ ดีต่างกันอย่างไร
              
              ไดโอด จะมีหน้าที่จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว จึงนำมาทำเป็นบริดที่มีไดโอด ตัวต่อกัน ทำหน้าที่แปลงไฟ AC เป็น DC หรือ ไฟกระแสสลับมาเป็นไฟกระแสตรง ในวงจรเรกดิไฟร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น