วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555


การเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์

1.ทักษะที่ได้รับจากการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์ในคลิบอะไรบ้าง

-         กำลังวัตต์ของเพาเวอร์ซัพพลาย
-         วงจรภายในของเพาเวอร์ซัพพลาย
-         คุณภาพของอุปกรณ์เพาเวอร์ซัพพลาย
-         การเปรียบเทียบเพาเวอร์ซัพพลาย
-         เพาเวอร์ซัพพลายที่แยกขายกับเพาเวอร์ซัพพลายที่ติดมากับเครื่องดีแตกต่างกันอย่างไง
-         เพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้อุปกรณ์มือ 2
-         การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพ

----------------------------------------------------------------------

2.สิ่งที่ได้เปรียบเทียบในการเลือกซื้อ Power Suppy คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

-         ราคาของเพาเวอร์ซัพพลาย
-         คุณภาพของเพาเวอร์ซัพพลาย
-         อุปกรณ์ที่ใช้ในเพาเวอร์ซัพพลาย
-         วิธีดูอุปกรณ์ของเพาเวอร์ซัพพลาย

------------------------------------------------------------------------

3.Power Suppy คอมพิวเตอร์ที่นำมาเปรียบเทียบแต่ละแบบมีราคาเท่าไรบ้าง(แยกให้เห็นชัดเจน)

-         ตัวที่ ราคา 200 บาท เป็นอุปกรณ์มือ ทั้งหมด
-         ตัวที่ ราคา 250 บาท ไม่มีชุดฟิลเตอร์ไป 3.3V
-         ตัวที่ ราคา 260 บาท มีฟิวส์ขนาดใหญ่ขึ้น
-         ตัวที่ 4 ราคา 270 บาท มีวงจรบริดจ์เร็กติไฟร์ใหญ่ขึ้น มีคอยล์เพิ่มขึ้นมาอีก ชุด มี ฟิลเตอร์3.3V  และมีชิ้นส่วนมือ บางชิ้น
-         ตัวที่ ราคา 300 บาท มีชิ้นส่วนมือ  บางชิ้น และมี ฟิลเตอร์เพิ่มขึ้นมา ชุด คือ ชุดไฟ5V กับ 12V
-         ตัวที่ ราคา 350 บาท มีชุด EMI และ มี Body ที่สวยขึ้น
-         ตัวที่ ราคา 450 บาท เพิ่มส่วนของชุด EMI มี Body ที่สวยขึ้น
-         ตัวที่ ราคา 550 บาท มี ฟิลเตอร์ 300V ใหญ่ขึ้น ภาค EMI ใหญ่ขึ้น และคาปาซิสเตอร์ในวงจรใหญ่ขึ้น
-         ตัวที่ ราคา 650 บาท วงจรชุด EMI ดีขึ้น มีวงจรปรับความเร็วของพัดลมตามตวามร้อนของเพาเวอร์ซัพพลาย
-         ตัวที่ 10 ราคา 790 บาท มีการใช้สายไฟและตัวเสียบอุปกรณ์คุณภาพดีขึ้น มีการเก็บหุ้มสายไฟ เพิ่มชุด EMI อีก ชุด มีวงจรเซฟตี้ ไฟ 12V ใหญ่ขึ้น
-         ตัวที่ 11 ราคา 1,070 บาท ซิงค์ได้คุณภาพ มี คาปาซิสเตอร์ที่ใหญ่ขึ้นในวงจร มีวงจร PFC มีวงจร EMI Double อีก ชุด มีหม้อแปลงขนาดใหญ่ขึ้น คอยล์หรือ ใหญ่ขึ้น

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555


1. ชิ้นส่วนต่างๆ ใน computer ที่กินไฟแต่ละส่วน
อุปกรณ์กำลังวัตต์ที่ใช้
CPU Pentium4 3.0 GHz
15
Mother board
5
Hard disk 120 GB SATA30
CD-RW DVD ROM drive30
RAM DDR400 1GB10
Floppy disk drive5
AGP Card30
USB Device3
Keyboard1.25
Mouse1.25
Cooling Fan2
รวม252.5

2. รวมกำลังวัตต์ที่เราคำนวณได้เลือกใช้ Powersupply ให้เหมาะสมเพราะเหตุใด

จะเห็นว่าใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300 W ก็น่าจะเพียงพอ เพราะมันใกล้เคียงกับ Watt ที่ต้องการ เราต้องเผื่อ Watt เอาไว้ให้เครื่องได้ทำงาน ส่วนอื่นๆบ้าง ถ้าหากเราเลือกกำลัง Watt ไม่พอ ก็จะเป็นสาเหตุให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการรวน ต่าง ๆ เช่น เครื่องค้าง (Hang) หน้าจอขึ้นสีฟ้า หรือมีอาการวูบดับไปเฉย ๆ ได้

3. บอกความหมายของคำว่า 80 Plus

80 PLUS คือ มาตราฐานการรองรับของ PSU ที่สามารถจ่ายค่า Power Efficiency ได้สูงกว่า 80% ขึ้นไป
กล่าวคือค่า Power Efficiency ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งถ้าจะอธิบายแล้วก็คือ ปกติกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟเข้ามาจำนวน 220-250V แล้วแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานขนาด 12V, 5V หรือ 3.3V มักจะสูญเสียพลังงานไปบางส่วน ทำให้ตัว PSU ต้องดูดไฟจากโรงงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ของเราใช้เพาเวอร์ที่มีค่า Power Efficiency 70% (ค่ามาตราฐานของ PSU ทั่วๆ ไป) และเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องการกระแสไฟฟ้า 280 W แต่เนื่องจากมีการสูญเสียพลังงานระหว่างการแปลงไฟต่างๆ ทำให้ PSU ต้องดูดไฟจากโรงงานเพิ่มเป็น 400 W (คำนวนด้วยสูตร จำนวนวัตต์ที่คอมพิวเตอร์เราต้องการ หารด้วย Power Efficiency แล้วคูณ 100) ซึ่งก็ทำให้เราเสียสตางค์ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเพราะเหตุนี้จึงเกิดคำมาตราฐาน 80 PLUS ขึ้นซึ่งในปัจจุบัน 80 PLUS ได้ทำการแบ่ง Class ออกเป็นหลาย Class ดังนี้ 


 
 
Class Gold คือดีที่สุด และ ลดลงมาตามลำดับ 2.Silver 3.Bronze 4.standard

หากเราใช้ Power ที่ได้รับการรับรอง 80 plus นี้แล้ว ก็ถือว่าเราได้ช่วยเหลือสังคม ลดการใช้พลังงาน รวมถึงลดความร้อนภายในโลก ประหยัดค่าไฟ และอีกหลาย ๆ อย่างเลยครับ
 

( PSU = คำย่อ Power Supply Unit )

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบปฏิบัติกลางภาค

1. จงอธิบายหน้าที่ของสวิตชิ่ง มาพอสังเขป

เป็น แหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแรงดันไฟจากไปสลับโวลต์สูง ให้เป็นแรงดันไฟตรง ทำงานด้วยความถี่สูง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะมีการใช้หม้อแปลงที่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อย เมื่อเทียบกับแหล่งจ่ายไฟเชิงเส้น อีกทั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกด้วย

2. แรงดันไฟจ่ายให้กับเพาเวอร์ซัพพลายด้านอินพุท 110 VAC กับ 220 VAC  มีความสำคัญอย่างไร
               
               ในแต่ละประเทศต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้ แต่ประเทศนั่นจะใช้ไฟฟ้าต่างระดับกันคือ 110VAC กับ220VAC บริษัทที่ผลิตเพาเวอร์ซัพพลาย ก็ผลิตเพาเวอร์ซัพพลายที่มีไฟด้านอินพุทมา 2 ระดับให้เลือกคือ110 VAC กับ 220 VAC เพื่อที่จะให้ซัพพลายทำงานไปเลี้ยงคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยผลิตออกมาแล้ว


3. อุปกรณ์ที่เป็น ไดโอด หรือบริด ในวงจรเรกติไฟร์ มีความสำคัญ ดีต่างกันอย่างไร
              
              ไดโอด จะมีหน้าที่จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว จึงนำมาทำเป็นบริดที่มีไดโอด ตัวต่อกัน ทำหน้าที่แปลงไฟ AC เป็น DC หรือ ไฟกระแสสลับมาเป็นไฟกระแสตรง ในวงจรเรกดิไฟร์

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


แบบทดสอบปฏิบัติกลางภาค

1. จงอธิบายหน้าที่ของสวิตชิ่ง มาพอสังเขป

เป็น แหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่ง สามารถเปลี่ยนแรงดันไฟจากไปสลับโวลต์สูง ให้เป็นแรงดันไฟตรง ทำงานด้วยความถี่สูง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะมีการใช้หม้อแปลงที่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อย เมื่อเทียบกับแหล่งจ่ายไฟเชิงเส้น อีกทั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกด้วย

2. แรงดันไฟจ่ายให้กับเพาเวอร์ซัพพลายด้านอินพุท 110 VAC กับ 220 VAC  มีความสำคัญอย่างไร
               
               ในแต่ละประเทศต้องมีคอมพิวเตอร์ใช้ แต่ประเทศนั่นจะใช้ไฟฟ้าต่างระดับกันคือ 110VAC กับ220VAC บริษัทที่ผลิตเพาเวอร์ซัพพลาย ก็ผลิตเพาเวอร์ซัพพลายที่มีไฟด้านอินพุทมา 2 ระดับให้เลือกคือ110 VAC กับ 220 VAC เพื่อที่จะให้ซัพพลายทำงานไปเลี้ยงคอมพิวเตอร์ได้ แต่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยผลิตออกมาแล้ว


3. อุปกรณ์ที่เป็น ไดโอด หรือบริด ในวงจรเรกติไฟร์ มีความสำคัญ ดีต่างกันอย่างไร
              
              ไดโอด จะมีหน้าที่จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว จึงนำมาทำเป็นบริดที่มีไดโอด ตัวต่อกัน ทำหน้าที่แปลงไฟ AC เป็น DC หรือ ไฟกระแสสลับมาเป็นไฟกระแสตรง ในวงจรเรกดิไฟร์

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ปัญหา Power Supply จ่ายไฟไม่เพียงพอ


อาการ 

เปิดติดแต่ไม่บู๊ต

หมายถึงเปิดแล้ว พัดลมของ เพาเวอร์ซัพพลาย หมุน แต่เครื่องไม่บู๊ต เป็นไปได้ว่า เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่สามารถจ่ายไฟให้คอมพิวเตอร์ หรือจ่ายไฟได้ไม่พอ กรณีนี้ เพาเวอร์ซัพพลาย อาจจะไม่เสีย แต่จ่ายไฟได้ไม่พอกับกำลังที่คอมพิวเตอร์ต้องการ



อุปกรณ์บางตัวในคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

อุปกรณ์บางตัวไม่ทำงาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม การ์ดจอ ไม่ทำงาน สาเหตุอาจเกิดจาก เพาเวอร์ซัพพลาย ไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์เหล่านั้นก็ได้ ตรวจสอบให้ก่อน อุปกรณ์อาจไม่เสีย แต่ที่เสียคือ เพาเวอร์ซัพพลาย



คอมดับพอเปิดสักพักก็ดับ พอเปิดอีกก็ดับไม่ได้ต้องถอดปลั๊กออก...แล้วเสียบใหม่ก็เปิดได้..แต่ก็ดับ

ตามหลักการ เมื่อระบบเริ่มทำงาน ระบบระบายความร้อน ยังไม่ทำงานเต็มระบบนัก จึงยังคงใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก ต่อเมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ.

1. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวแปรที่ทำให้ระบบ สั่งงานให้พัดลมระบายความร้อน ทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะ ชุดระบายความร้อนของ CPU , การ์ดจอภาพ ( ถ้ามี ) ในชุด Power Supplyเอง ดังนั้นต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น เมื่อกระแสไฟฟ้าถูกดึงไปใช้ในการระบายความร้อน และ กำลังไฟที่เหลือไม่เพียงพอต่อการจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น Mainboard เป็นต้น.

2. ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทัน เนื่องจากระบบระบายความร้อนด้อยประสิทธิภาพ หรือ ไม่มีระบบระบายความร้อนที่พอเพียง ระบบจะป้องกันตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อระบบ โดยการหยุดการทำงาน หรือ ตัดการจ่ายไฟเข้าระบบ

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ระบบจะหยุดการทำงาน มักจะเกิดอาการ Hang หรือ เครื่องดับไปเฉยๆ โดยที่ หลอดไฟ LED ที่แสดงสถานะไฟฟ้า หน้าเครื่อง ยังติดสว่างอยู่ หรือ ดับไป แต่ หลอดไฟLED ที่แสดงสถานะ Standby บน Mainboard ยังคงติดสว่างอยู่

ส่วนสาเหตุอื่นที่พิจารณาเป็นลำดับถัดๆ ไป คือ มีอุปกรณ์ในระบบเกิดอาการชำรุดเสียหาย เช่นMainboard ไหม้เนื่องจากไฟเกิน , Ram เสีย หรือ เกิดสนิม , Disk Drive หรือ Optical Drive อาจมีการชำรุดเสียหายส่งผลต่อระบบ การ์ดอื่นๆ อาจเกิดการชำรุดเสียหาย หรือ ท้ายที่สุดเกิดปัญหาจาก Software เป็นปัญหาได้.

ฝากข้อคิดให้กับท่านที่จะเลือกซื้อ power supply ดังนี้


          ๑. อย่าดูแค่ว่ากี่วัตต์ ดูให้ดี ๆ ว่าแผง 12v นะจ่ายกระแสพอไหม อุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มักกินไฟหนักที่ไฟตรงนี้ แนะนำว่ารวมกันประมาณ 25A ขึ้นไปเป็นอย่างน้อย
          ๒. เล็งให้ดีว่าเครื่องของคุณเป็นแบบ 20 pin เข้า mainboard 4 pin เข้า CPU หรือเปล่า แล้วมาดูว่าเจ้า power supply เขาออกแบบมาให้เสียบได้ แบบนั้นไหม ถ้าไม่ตรงกันมันแยกออกมา หรือมีสายอีกชุดที่ีเสียบเข้าได้พอดีหรือเปล่า
          ๓. ถ้าต้องการชัวร์ ๆ อยากได้ของดีแน่ ๆ ให้เลือกจากยี่ห้อดังต่อไปนี้ Corsair, Enermax, SeaSonic, Power PC & Cooling, Silverstone, Tagan, FSP และ BFG tech ส่วน CoolMAX, Antec และ OCZ นั้นใช้ได้แต่ต้องดูเป็นรุ่น ๆ ไป ส่วนท่านที่แค่จะเน้นถูกและดี(สมราคา)นั้น ยี่ห้อDelta ทำในไทยนั้นทนทาน ใช้ได้เลย
          ๔. รุ่นที่ดีนั้นจะมี active PFC (Power Factor correction) ทำให้ประหยัดไฟขึ้น
          ๕. เลข 80 ที่อยู่ในกรอบข้างกล่องหมายถึงว่า รุ่นนั้นเขามีประสิทธิภาพสูงเกิน 80เปอร์เซ็นต์ จะประหยัดไฟกว่ารุ่นธรรมดา

          ๖. Watt มาก ๆ ไม่ได้หมายความว่าจะกินไฟมากกว่า เป็นสเปคที่บอกว่าจ่ายไฟได้สูงสุดเท่าไหร่เท่านั้น

          ๗. power supply มักจะออกแบบมาให้จ่ายไฟได้มีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณครึ่งหนึ่งของ rated watt เช่นรุ่น 500 Watt ก็จะไปทำงานได้ดีที่สุดช่วง 200-300 watt





เพาเวอร์ซัพพลาย : กี่วัตต์จึงจะพอ

มักจะมีคำถามว่า ควรใช้ เพาเวอร์ซัพพลายกี่วัตต์จึงจะพอ

ส่วนใหญ่ผู้ขายมักจะแนะนำให้ซื้อรุ่นที่มีวัตต์มาก ๆ เข้าไว้ เพื่อป้องกันปัญหาวัตต์ไม่พอ ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพลาย ยี่ห้อธรรมดา ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ ราคาก็จะต่างกันมาก แม้จะมีวัตต์ต่างกันเพียง 50 วัตต์

เมื่อตัดสินใจที่จะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ยี่ห้อดี ๆ แล้ว ก็ควรมีความรู้ในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ที่แท้จริงของพีซี ว่าต้องการใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย กี่วัตต์กันแน่ จะได้ประหยัดเงินเอาไว้ซื้ออุปกรณ์อย่างอื่นที่จำเป็นจะดีกว่า



อย่างไรก็ตาม หากเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกำลังวัตต์ไม่เพียง ก็จะเป็นสาเหตุให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการรวน ต่าง ๆ เช่น เครื่องค้าง (Hang) หน้าจอขึ้นสีฟ้า หรือมีอาการวูบดับไปเฉย ๆ เป็นต้น จึงต้องคำนวณหาจำนวนวัตต์ที่เพียงพอด้วย

ลองดูตารางต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหาความต้องการวัตต์ของเครื่องคอมพิวเตอร์





อุปกรณ์

กำลังวัตต์ที่ใช้

CPU Pentium4 3.0 GHz

115

Mother board

25

Hard disk 120 GB SATA

30

CD-RW DVD ROM drive

30

RAM DDR400 1GB

10

Floppy disk drive

5

AGP Card

30

USB Device

3

Keyboard

1.25

Mouse

1.25

Cooling Fan

2

รวม

252.5 



ตามตารางข้างบน จะเห็นว่าใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300 W ก็น่าจะเพียงพอ แต่ถ้าใช้ฮาร์ดดิสก์ ตัว ซึ่งกินไฟ 30W รวมเป็น 282.5W ซึ่งใกล้กับ 300W ก็น่าจะใช้ เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 350W จึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นแต่ละรุ่นก็กินไฟต่างกัน ตารางข้างบนเป็นค่าประมาณเท่านั้น



เลือกกำลังไฟที่เพียงพอต่อคอมพิวเตอร์ 
ดูจากฉลากด้านข้างตัวอุปกรณ์ซึ่ง Power Supply รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะระบุมาอย่างชัดเจน ด้วยกำลังไฟที่จ่ายได้ต่ำสุด-สูงสุด รวมถึงไฟเลี้ยงและค่าต้านทานที่เหมาะสมโดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะอยู่ที่ ประมาณ 350-500 วัตต์ แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมเมอร์ก็จะสูงขึ้นไปอีกด้วยคือ 500-750 วัตต์ ยิ่งถ้าเป็นเกมการ์ดแบบคู่ไม่ว่าจะเป็น SLI หรือ CrossFire ซึ่งการ์ดแต่ละตัวต้องใช้ไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วยแล้ว อาจต้องก้าวไปถึง 700 วัตต์ เลยทีเดียว มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายในด้วยเช่นกัน หากสงสัยวาคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่หรือกำลังจะซื้อ ต้องใช้ Power Supply ขนาดไหน สามารถเข้าไปคำนวณการใช้พลังงานของเครื่อง เพื่อใช้ในการเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลายได้ง่ายๆ โดยมีเว็บไซต์หลายที่ให้บริการคำนวณ เช่น  การใช้งานเพียงกรอกรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ลงไปก็จะคำนวณการใช้งานออกมาให้ทันที

ข้อแนะนำ : เมื่อคุณเปลี่ยน Mainboard เป็นรุ่นใหม่ซึ่งต้องใช้ 24 Pin Power Supply จะเป็นMainboard รุ่นใหม่ สำหรับ CPU รุ่นใหม่ เช่น Intel socket 775 ซึ่งจะใช้กำลังไฟสูง ดังนั้น Power Supply เก่าที่คุณมีอยู่ใช้งานมานานกำลังไฟที่จ่ายออกมาได้อาจจ่ายไฟไม่เพียงพอ ก็จะทำให้เครื่อง รวน หรือ แฮงค์ ซึ่งจะเป็นปัญหาให้คุณแก้ไขต่อไป ทางที่ดี ควรเปลี่ยน Power Supplyใหม่ เป็นรุ่น 24 Pin และ สามารถจ่ายกำลังไฟได้สูงพอสมควร ( ควรจะเกิน 400 Watt ขึ้นไป ซึ่งโดยปกติจะเป็นค่าการจ่ายกำลังไฟโดยการคำนวณสูงสุด แต่โดยธรรมชาติของตัว Power Supplyแบบนี้ มักจะจ่ายกำลังไฟจริงไม่เต็มตามที่ระบุไว้ในรุ่นส่วนมากจะจ่ายกำลังไฟได้จริงประมาณ 50 - 70 % ของตัวเลขที่ระบุไว้บนแถบแสดงคุณสมบัติของ Power Supply นั้นๆ  ) โดยปกติ ราคาทั่วๆ ไปก็จะมีระดับราคาประมาณ 5 - 600 บาท ขึ้นไปจนถึงกว่า 1,000 บาท ต้นๆ ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้วครับ.. 

·         แต่หากคุณมีอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องจำนวนมาก และ ต้องการกำลังไฟสูง และ เสถียรมากๆ เช่น นำไปทำเป็น PC Server , Workgroup Server เป็นต้น ควรใช้ Power Supplyที่มีเสถียรภาพดีๆ เช่น ยี่ห้อ Enermax หรือ SevenTeam ซึ่งขนาด 250 - 300 Watt จะมีราคาประมาณ 1,800 - 2,000บาทขึ้นไป ตามกำลังที่จ่ายไฟได้และตามคุณภาพที่มีในรุ่นนั้นๆ ( Power Supply สองยี่ห้อนี้ จะมีคุณภาพสูง กำลังการจ่ายพลังงานไฟฟ้าเต็มตามที่ระบุไว้ตามขนาดเสมอ)

·         โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า โดยทั่วๆ ไปมักจะต้องการกำลังไฟในการทำงานอยู่ที่ประมาณ 135 - 250 Watt ส่วนคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มักต้องการกำลังไฟประมาณ 250 - 380 Watt ครับ. หากมีอุปกรณ์พิเศษอื่นเพิ่มเติม เช่น Harddisk ที่มากกว่า ตัว , Optical Drive ที่มากกว่า ตัว การ์ดแสดงผล ( Display Card ) ที่มี GPU รุ่นใหม่ใช้กำลังไฟสูง มีชุดระบายความร้อนเฉพาะตัว เป็นต้น ก็ต้องจัดหา Power Supply ที่สามารถจ่ายกำลังไฟสูงขึ้น เพื่อจ่ายกำลังไฟให้เครื่องสามารถทำงานได้

·         หลักการเลือก Power Supply มาใช้งาน ควรเลือกเผื่อกำลังไฟในเครื่องที่ต้องการใช้ สัก30 % หมายถึง กำลังไฟที่จะใช้ในเครื่องควรจะเป็น 70 % ของกำลังไฟที่ Power Supplyที่เลือกมาใช้ครับ. เนื่องจากเมื่อระยะเวลาการใช้งานผ่านไป ขีดความสามารถในการทำงานของ Power Supply จะลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ Power Supply ที่เลือกใช้ด้วยครับ ถ้าเป็นเลือกที่ราคาถูก อัตราการลดกำลังก็จะสูงกว่า  รุ่นที่ราคาสูง จะมีความถดถอยในการจ่ายกำลังไฟที่น้อยกว่า ซึ่งหมายถึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่านั่นเอง ครับ.

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555


วิเคราะห์ Power Supply 450w

1.Fuse 6.3A












2.Bridge บริดแบบสำเร็จรูป 4 ขา












3.Switching
-Diode 1N4148

               












-SBL2040


               











 -HBR20100

                 














-SBL3040
               











 -KN2907

               













 -W13009

                 












-C945

               













 -C1815











4.IC Regulator
 -SG6105Z












5.Capacitor
-C 470uF/200V












6.IC
 -SG6105Z

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ข้อดี ข้อเสีย ของเพาเวอร์ซัพพลาย


เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีเป็นอย่างไร
  1. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีความสามารถในการจ่ายไฟเต็ม maximum load ตามสติกเกอร์ที่ติดข้าง เพาเวอร์ซัพพลาย ที่เรียกว่า วัตต์แท้ หรือ วัตต์เต็ม เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูกมักติดสติกเกอร์เกินจำนวนวัตต์จริง เพราะผู้ใช้ไม่มีเครื่องมือวัดวัตต์ที่แท้จริง
  2. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบป้องกันไฟเกิน ไฟกระชาก โดยเสปกต้องระบุว่ามีคุณสมบัติ Over Voltage Protection (OVP) และ Over Current Protection (OCP)
  3. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีต้องจ่ายไฟอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า PFC (Power Factor Correction)
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่ดี เช่น มีพัดลมขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน (Heat sink) ที่ใหญ่กว่า
เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีดูที่ตรงไหน
  1. รูปลักษณ์ภายนอก ควรเป็นกล่องที่ทำจากเหล็กที่มีความหนาพอสมควร และเคลือบด้วยสารกันสนิม เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกจะประหยัดต้นทุนในส่วนนี้จึงใช้แผ่นโลหะที่บางกว่า
  2. น้ำหนักดี เพราะ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่วัตต์เต็มจะใช้ขดลวดทองแดงมากกว่า นอกนี้ครีบระบายความร้อนก็จะมีขนาดหรือพื้นที่กว้างกว่า ทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพดีมีน้ำหนักมากกว่า
  3. ป้ายสติกเกอร์ ที่ติดข้างกล่องจะต้องมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เช่น UL, FCC, Nemko (N), Semko (S), Demko (D) เป็นต้น
  4. ผลิตจากโรงงานที่เชื่อถือได้ ปัจจุบันมีโรงงานผลิต เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนมาก บางโรงงานจะเน้นการขายราคาถูกจึงลดคุณภาพวัตถุดิบ
เพาเวอร์ซัพพลาย ดีมีประโยชน์อย่างไร
  1. ประหยัดเงินในระยะยาว เพาเวอร์ซัพพลาย ราคาถูก จะให้วัตต์ต่ำ หรือต่ำกว่าสติกเกอร์ที่ติด เมื่อเราจะเพิ่มอุปกรณ์ในภายหลัง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง, ดีวีดี, เปลี่ยนวีจีเอที่ดีกว่าเดิม เราอาจต้องเปลี่ยน เพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย หากมันจ่ายไฟได้ไม่พอ
  2. คอมพิวเตอร์มีความเสถียร แม้ในยามที่มี ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก หรือสัญญาณรบกวนของมอเตอร์ จากเครื่องดูดฝุ่น หรือเครื่องซักผ้า โดยไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ดับ หรือถูกสัญญาณรบกวน
  3. ยืดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์ เพาเวอร์ซัพพลาย คุณภาพต่ำสามารถทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เสื่อมคุณภาพเร็วกกว่าที่ควร เนื่องจากการจ่ายไฟไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟด้วยแรงดัน (volt) ที่สูงกว่าอุปกรณ์จะรับได้
  4. เพาเวอร์ซัพพลาย มีอายุการใช้งานมากกว่า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไฟเกินกว่าที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จะจ่ายได้ อาจทำให้ไม่สามารถบูตเครื่องได้ หรือทำให้เครื่องค้าง หรือขึ้นหน้าจอสีฟ้า แต่ถ้าใช้ไฟในระดับที่ เพาเวอร์ซัพพลาย จ่ายไฟสูงสุดได้เป็นเวลานาน ๆ ต่อเนื่องกัน ก็อาจทำให้ เพาเวอร์ซัพพลาย ไหม้ หรือระเบิดได้เหมือนกัน ดังนั้นหากต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย จำนวนวัตต์เท่าใดสำหรับคอมพิวเตอร์ ก็ควรมั่นใจว่าได้วัตต์เต็มจำนวนจริง ๆ

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
             ข้อดี
                 1. กินไฟน้อย
                 2. ใช้กับคอมพิวเตอร์สเปกธรรมดาทั่วไปได้
              ข้อเสีย
                  1. พ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้น้อย
                  2.กระแสออกน้อยกว่า 450w
                  3.เมื่อซัพพลายทำงานหนักซัพพลายจะร้อนมากอาจทำให้อุปกรณ์เสียได้
                  4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟฟคงที่อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้เพราะกระแสไฟไม่พอจ่าย

ส่วนข้อดีข้อเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย 450w
             ข้อดี
                 1. ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้
                 2. สามารถพ่วงอุปกรณ์เสริมของคอมพิวเตอร์ได้มากพอสมควร
                 3.ราคาใกล้เคียงกับเพาเวอร์ซัพพลาย 300w
                 4.อุปกรณ์ที่ต้องการกระแสไฟคงที่ก็จะเสียหายน้อยเพราะกระแสมากพอสมควร
              ข้อเสีย
                  1.กินไฟเยอะกว่า 300w
                  2.ซัพพลายทำงานได้ดีกว่า 300w
                  
ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ฮาร์ดแวร์
          300w.
                1.เครื่องทำงานได้ไม่ค่อยเต็มที่เท่ารั่ยถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ
                2.ถ้าอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะแล้วไม่ทำการเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายให้มีกำลังวัตต์มากเมื่อใช้ไปนานๆก็อาจทำให้อุปกรณ์บางชิ้นเสียหานได้
          450w
                1.เครื่องทำงานได้เต็มที่เพราะมีกระแสไฟเพียงพอ
                2. ช่วงลดความเสียหายของอุปกรณ์บางชนิดได้
                


ข้อแตกต่าง 300w และ 450w ของ ซอฟต์แวร์
          300w.
                1.เวลาออกแบบงานกราฟฟิกอาจทำให้คอมเราค้างได้เพราะกระแแสไฟไม่เพียงพอ
                2.อาจทำงานล่าช้าเพราะคอมช้า
          450w
                1.เวลาออกแแบงานกราฟฟอกหรือโปรแกรมที่ใช้สเปกคอมเยอะๆ อาจทำงานได้ลื่น
                2.ช่วยลดเวลาในการทำงาน

หลักการเบื้องต้นของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลาย


SPSbase.gif (16216 bytes)
หลักการเบื้องต้นของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ ซัพพลาย
        ดังที่เห็นจากรูป จะเห็นว่า ไฟ AC 220 V จะถูกแปลงให้เป็นไฟ DC 310 V ด้วยวงจร เรกติไฟร์และจะถูกทำให้เรียบด้วยวงจร ฟิลเตอร์
จากนั้น ไฟ DC แรงดันสูงก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็น Pulse ความถี่สูงโดยวงจร สวิตชิ่ง ซึ่งจะถูกควบคุมด้วยชุด สร้างความถี่สูง (PWM)  อีกที.
ต่อจากนั้น ก็เข้าสู่หม้อแปลงเพื่อ แปลงลง เพื่อให้ได้ระดับไฟที่ต้องการ แล้วก็ผ่านวงจร เรกติไฟร์เพื่อ แปลง Pulse ความถี่สุงให้เป็น ไฟ DC
แล้วจึงผ่านวงจรฟิลเตอร์ เพื่อไฟ DC ที่ ขาออกให้เรียบ.      เราจะมาดูทีละส่วนกันนะครับว่ามีรายละเอียดอย่างไร.
- วงจรกรองสัญญาณรบกวนไฟ 220 V AC เข้า
        จริงๆแล้วส่วนนี้จะมีส่วนของวงจร กันสัญญาณรบกวน ทั้งไม่ให้เข้ามา และ ไม่ให้ออกไป อยู่ก่อนหน้า วงจร เรกติไฟร์ นะครับ ซึ่งเรียกว่า
Noise Filter หรือ EMI + RFI Filter ซึ่งใน Power Supply ราคาถูกที่ติดมากับ Case โดยทั่วไปจะตัดออกเพื่อลดต้นทุน
เนื่องจากส่วนนี้ถึงไม่มี เพาเวอร์ซัพพลายก็สามารถทำงานได้แต่จะมีข้อเสียคือ จะมีสัญญาณรบกวน EMI ,RFI ออกมาจากตัว เพาเวอร์ซัพพลาย
ไปรบกวนอุปกรณ์อื่นๆ ได้ และที่แน่ๆ จะไม่ได้รับมาตฐานการรับรอง ขายได้เฉพาะในประเทศที่ด้อยพัฒนาเท่านั้น....
nfilter1.jpg (26446 bytes)  nfilter2.jpg (19344 bytes)
- วงจร เรกติไฟร์
        ต่อมาก็เป็นวงจร เรกติไฟร์ จะใช้ ไดโอด 4 ตัวต่อกันเป็น วงจรที่เรียกว่า บริดจ์ เรกติไฟร์ ดังรูปนะครับ. มีดูได้สองอย่างครับ.
ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ของไม่ดีละก็ ส่วนมากจะเอาไดโอดเบอร์ RL206 ทนกระแส  2A ทนแรงดัน 800V มาต่อกันเป็น บริดจ์
แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ดีๆละก็ส่วนมากจะใช้ บริดจ์สำเร็จรูปมาจากโรงงานเลย ดังรูปครับ.
คราวนี้ก็มาดูว่า บริดจ์เราเจ๋งไม่เจ๋ง ให้ดูที่การทนกระแส และแรงดันครับ แต่ตัวที่สำคัญคือ กระแส อย่างของ Enermax รุ่น 465VE นี่ใช้เบอร์ PBU1005
รับกระแสได้ 10A รับแรงดันได้ 500V หรืออย่าง Powtec รุ่น SA320 ใช้เบอร์ GBU8J ซึ่งรับกระแสได้ 8A รับแรงดันได้ 600V เป็นต้น
วิธีดูคือ ให้ดูตัวเลขชุดแรกจะบอกกระแสที่ทนได้ ตัวเลขชุดที่สองจะบอกแรงดันที่ทนได้ บางบริษัทจะใช้ตัวอักษรแทน ตามตาราง
KBU , GBU , PBU , KBP ,KBL ,SBU , SKB , RS4024D4A  200V
4044G4A  400V
6066J6A  600V
8108M8A  1000V
100810K10A 800V
bridge1.jpg (26953 bytes)   bridge2.jpg (17016 bytes)  bridge3.jpg (25288 bytes)
bridge4.jpg (19406 bytes)   d4.jpg (11837 bytes)
- วงจร ฟิลเตอร์
        ต่อมาก็เป็นวงจร ฟิลเตอร์ ประกอบด้วยตัวเก็บประจุขนาดใหญุ่ 2 ตัวขนาดทนแรงดันได้ 200V มาต่ออนุกรมกันเพื่อให้ทนแรงดัน 400V
ที่ต้องใช้ 2 ตัวเนื่องจาก ทำให้สามารถปรับให้ ใช้ไฟ ได้ทั้ง 110V และ 220V
และอีกอย่างที่สำคัญคือ ตัวเก็บประจุที่ทนแรงดันได้ 400 V มีราคาแพงกว่ามาก
เมื่อนำตัวเก็บประจุ 2 ตัวค่าความจุเท่ากัน มาต่อ อนุกรม กันจะทำให้ความจุลดลงครึ่งหนึ่ง แต่จะทนแรงดันมากขึ้น
ค่าความจุยิ่งมากยิ่งดี พวกเพาเวอร์ซัพพลาย ถูกๆ มักจะใช้ ค่า 330 uF 200V 2 ตัวมาต่อกัน (330uF นี่ใช้ในเพาเวอร์ซัพพลายดีๆ
ก็มี แต่เป็นขนาด 145W ครับ) ถ้าเป็นเพาเวอร์ซัพพลายดีๆี(300W) ละก็ ควรจะมากกว่า 680 uF 200V 2 ตัว   ครับ.
คือยิ่งถ้า วัตต์สูงยิ่งควรจะมีค่ามากครับ เช่น Enamax 465VE (431W) ใช้ ขนาด 1,000 uF 200V 2ตัว
ส่วน Powtec SA320 (320W) ก็ใช้ขนาด 820 uF 200V 2ตัว เป็นต้น
cap1.jpg (19955 bytes)c2.jpg (25597 bytes)
?c4.jpg (23322 bytes) c3.jpg (24831 bytes)
- วงจร สวิตชิ่ง
        จากนั้นก็จะเข้าสู่วงจร สวิตชิ่งละครับ  วงจร สวิตชิ่งมีอุปกรณ์หลักๆ ก็คือ เพาเวอร์สวิตช์(Q1) ซึ่งอาจจะเป็น ทรานซิสเตอร์ หรือ มอสเฟต แล้วแต่การ ออกแบบ
ตัวนี้ก็จะดู การทนกระแส และแรงดัน ครับ ต้องดูเบอร์แล้วจึงไปหาข้อมูลที่บริษัทผู้ผลิต แต่ถ้าดูแบบง่ายๆ คือ ต้องตัวใหญ่ครับที่เรียกว่าตัวถังแบบ TO-3P , TO-246 , TO-247 , TO-264
ถ้าเป็นตัวเล็กจะเป็นพวก TO-220 สำหรับ ทรานซิสเตอร์เบอร์ยอดฮิตของ เพาเวอร์ซัพพลายดีๆก็ 2SC2625   ถ้าพวกวัตต์สูงก็  2SC3320   ส่วนมอสเฟ็ตจะค่อนข้างหลากหลาย
อย่าง Enamax 465VE จะใช้เบอร์ FS14FM-16A (14A 800V)  และของ Powtec SA320 จะใช้ SSH11N90 (11A 900V) ...
q1.jpg (27528 bytes) q2.jpg (22759 bytes) q3.jpg (21964 bytes)
- วงจร อินเวอเตอร์
        จริงๆ แล้ววงจรสวิตชิ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของ อินเวอเตอร์ด้วยแต่ส่วนนี้เราจะดูที่หม้อแปลงความถี่สูง (T1) จะเป็นหม้อแปลงตัวที่ใหญ่สุดในตัวเพาเวอร์ซัพพลายครับ
ทำหน้าที่ร่วมกับ เพาเวอร์สวิตช์(Q1) เพื่อแปลงไฟ DC 310V ให้เป็น พัลส์สี่เหลี่ยมความถี่สูง ประมาณ 20-100KHz โดยจะมี Output หลายชุด หลักๆคือ 3.3V , 5V , 12V
ตัวนี้ดูที่ขนาดยิ่งใหญ่ยิ่งดีเช่นเคย
t2.jpg (25418 bytes) t3.jpg (23456 bytes)
- วงจร สร้างความถี่สูง (PWM)
        เป็นชุดสร้าความถี่ต้นแบบที่จะป้อนให้ชุด สวิตชิ่งจะประกอบด้วย IC  PWM (Pulse Width Modulator) เป็นหลัก เบอร์ยอดฮิตของ เพาเวอร์ซัพพลายราคาถูกคือ
DBL494 ,KAI494 และอื่นๆที่มีเลข 494    และอีกเบอร์ที่กำลังมาแรงคือ KA7500B ซึ่งเบอร์นี้จะใช้ในเพาเวอร์ซัพพลาย ที่ดีขึ้นมาหน่อย
และจะมี IC อีกตัวเป็น OpAmp ทำหน้าที่ Comparator ใช้เพื่อป้อนกลับเพื่อให้ PWM ทำงานได้ถูกต้องตาม Load ก็คือเป็นตัวเช็คระดับไฟให้ถูกต้องนั้นเอง.
เบอร์ยอดอิตก็คือ LM339.  ในส่วนนี้ใน เพาเวอร์ซัพพลายที่ดีๆ ส่วนมากจะใช้ IC ที่ออกแบบมาดียิ่งขึ้น (แน่นอนว่าต้องแพงกว่า) เ่ช่นเบอร์  UC3842 ,SG6105
ic1.jpg (32722 bytes)ic2.jpg (37971 bytes)  ic3.jpg (17498 bytes)
- วงจร เรกติไฟร์ ด้าน Output
        เป็นชุดที่จะทำการแปลง พัลส์ความถี่สูงให้กลายเป็นไฟ DC โดยการใช้ ไดโอดความถี่สูงที่เรียกกันว่า Schottky Diode หรือ Fast Recovery Diode
ซึ่งโดยปกติตามวงจรจะใช้เป็นคู่กัน (ชุดละ 2 ตัว) ถ้าเป็น   เพาเวอร์ซัพพลายถูกๆ ก็จะใช้ ไดโอด 2 ตัวมาต่อกัน แต่ถ้าเป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ของดีๆละก็ จะใช้เป็น
ตัวสำเร็จมาจากโรงงานเลย ดังรูป ส่วนจะดูว่าทนกระแส และแรงดันได้เท่าไรนั้นก็เหมือน ทรานซิสเตอร์ หรือ มอสเฟต คือต้องเปิดคู่มือเอา.
d1.jpg (21002 bytes)  d2.jpg (22712 bytes)
- วงจร ฟิลเตอร์ ด้าน Output
        วงจร ฟิลเตอร์ ด้าน Output ประกอบด้วยตัว คอยล์ (Inductor) และตัวเก็บประจุ ที่ต้องใช้คอยล์หรือขดลวดเนื่องจากเป็นความถี่สูงจะทำให้การกรองและการเก็บพลังงานเป็นไปอย่างเหมาะสม
t1.jpg (29934 bytes)  coil4.jpg (22325 bytes) coil1.jpg (26500 bytes)
จากนั้นจึงจะใช้ตัวเก็บประจุต่อเพื่อให้กระแสเรียบอีุกที   ตัว คอยล์เราก็ดูที่ขนาดครับ ใหญ่ดีกว่าเล็กแน่ๆ ส่วนตัวเก็บประจุด้านไฟออกนั้น ยิ่งมีค่าความจุสูงยิ่งดีครับ.
วงจร เรกติไฟร์ และ ฟิลเตอร์ ด้าน Output นี่จะมีหลายชุด หลักๆ ก็คือ +3.3 V , +5.0V , +12V , -12V ( -12V และ -5V ใช้ชุดเดียวกัน) ส่วน Vsb +5.0V นั้นจะเป็นเพาเวอร์ซัพพลายอีกชุดแยกต่างหาก.
รูปภายใน เพาเวอร์ซัพพลาย แบบ ที่ติดมากับ Case ซึ่งเป็นแบบราคาถูกโดยทั่วไป
psu1.jpg (49265 bytes) psu2.jpg (32797 bytes)
รูปภายใน เพาเวอร์ซัพพลาย Enlight 300W
psuen1.jpg (37147 bytes) psuen2.jpg (29374 bytes)

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555