พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX จะใช้กับเคสและเมนบอร์ดแบบ ATX โดยเหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน ATX นี้เป็นมาตรฐานที่มีบทบาทมากที่สุดในเวลานี้แม้ว่าจะมีการเปิดตัวมาตรฐานของ BTX ออกมานานแล้วก็ตาม แต่มาตรฐานของ ATX นั้นก็ยังคงอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องมาอีกหลายเวอร์ชัน และเราก็ยังสามารถนำพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ไปใส่ในเคสแบบ BTX ได้ รวมไปถืงเมนบอร์ดแบบ ATX ก็สามารถนำไปติดตั้งในเคสที่เป็น BTX ได้เช่นกัน เพราะทางผู้ผลิตเคสได้ทำช่องสำหรับยึดตำแหน่งของพาวเวอร์ซัพพลายกับเมนบอร์ดแบบ ATX เอาไว้ด้วย
สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ก็จะมีหลายรูปแบบที่เราจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับความแตกต่างประการหลักสามประการระหว่างพาวเวอร์ซัพพลายแบบ AT และ ATX คือ มีสายไฟฟ้า +3.3V เพิ่มเติมอีกหนึ่งสาย, พาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX ในเวอร์ชันแรกๆ ใช้หัวต่อแบบ 20 ขา และพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีสายสำหรับเปิดปิด อันทำให้สามารถปิดพาวเวอร์ซัพพลายด้วยซอฟต์แวร์ได้ พาวเวอร์ซัพพลายของ ATX มีขนาดกว้าง, สูง, ลึกเท่ากับ 5.90 นิ้ว x 3.38 นิ้ว x 5.51 นิ้ว (150 มิลลิเมตร x 86 มิลลิเมตร x 140 มิลลิเมตร
คอนเน็คเตอร์หลักของพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์บนเมนบอร์ด ATX
มาตรฐาน ATX12V v1.x
เนื่องจาก ซีพียูสมัยใหม่ต้องการพลังงานมากขึ้น จึงได้มีการเพิ่มหัวต่อให้กับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX กล่าวคือ หัวต่อ 12V แบบสี่ขาและหัวต่อเสริม +3.3V และ +5V หกขา โดยหัวต่อแบบหกขานี้แต่เดิมมีใช้กันอยู่ในเมนบอร์ด Pentium 4 รุ่นแรก (เมนบอร์ดที่ใช้ซ็อกเก็ต 423) เราใช้พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยมีขนาดทางกายภาพเหมือนกับพาวเวอร์ซัพพลายแบบ ATX นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ATX12V v1.3 ยังได้มีการนำหัวต่อ Serial ATA ซึ่งมี 15 ขาเข้ามาใช้
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขา ATX12V บนเมนบอร์ด
คอนเน็คเตอร์ AUX สี่ขาของพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x และคอนเน็คเตอร์ 8 ขาของ EPS ATX 12V
หัวต่อเสริมหกขาบนพาวเวอร์ ซัพพลาย ATX12V v1.x
หัวต่อ 15 ขาเพื่อจ่ายไฟ Serial ATA ที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.3
มาตรฐาน ATX12V v2.x
ATX12V รุ่นใหม่นี้เปลี่ยนหัวต่อจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ดจาก 20 ขาเป็น 24 ขา และยังยกเลิกหัวต่อเสริม 6 ขาเนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป รวมทั้งปรับการใช้งานหัวต่อจ่ายไฟ Serial ATA อย่างไรก็ดี มีเมนบอร์ดATX12V v2.x บางรุ่นที่ยังคงเปิดโอกาสให้เราใช้กับพาวเวอร์ซัพพลาย 20 ขาดังเช่นพาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v1.x นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้พาวเวอร์ซัพพลาย ATX12V v2.x กับเมนบอร์ด ATX12V v1.x โดยผ่านทางตัวแปลง ขนาดทางกายภาพของ ATX12V v2.X เหมือนกันกับพาวเวอร์ซัพพลาย ATX ดั้งเดิมและยังคงรักษาหัวต่อ 12V 4 ขาเพิ่มเติมที่เริ่มนำมาใช้ใน ATX12V v1.x
คอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ 24 ขา และคอนเน็คเตอร์พาวเวอร์ EPS 12V บนเมนบอร์ด
ตัวแปลงจาก 24 ขาไปเป็น 20 ขา
มาตรฐาน แบบอื่นๆ
EPS12V: SSI (Server System Infrastructure) เป็นผู้กำหนดรูปทรงนี้สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายเซิร์ฟเวอร์ระดับล่าง พาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้ใช้หัวต่อบนเมนบอร์ดแบบเดียวกับ ATX12V v2.x และมีหัวต่อ 12V 8 ขาแบบใหม่ EPS12V ยังคงมีขนาดเหมือนกับมาตรฐาน ATX ดั้งเดิม และใช้กับเมนบอร์ดแบบ EPS12V เนื่องจากพาวเวอร์ซัพพลายแบบนี้มีหัวต่อเพิ่มขึ้นมาเพียงอันเดียว ผู้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายหลายรายจึงผลิตรุ่นที่เป็นทั้ง ATX12V v2.x และ EPS12V ในเวลาเดียวกัน
หัวต่อ EPS12V
นอกจากรูป ทรงหลักของพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับเครื่องเดสก์ทอปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีรูปทรงสำหรับเครื่องพีซีขนาดเล็กเช่นกัน
พาวเวอร์ซัพพลาย LFX12V
เลือกซื้อแบบง่ายๆ
เลือกซื้อในทางปฏิบัติมาแนะนำบ้างอยู่เหมือนกัน
1. พาวเวอร์ซัพพลายที่ซื้อควรจะเป็นมาตรฐาน ATX 2.x
2. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับเมนบอร์ดแบบ 24 pin หรือแบบ 20+4 pin
3. เป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ 4 pin อย่างน้อย 1 เส้น หรือถ้าคอมพิวเตอร์เราเป็นแบบประสิทธิภาพสูงเช่นต้องการใช้กับซีพียูแบบ Quad-Core ก็ให้เลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มี AUX 12 โวลต์แบบ 8 pin หรือถ้าจะให้ดีมันมีพาวเวอร์ซัพพลายบางรุ่นจะมีคอนเน็คเตอร์ AUX 12 โวลต์ แบบ 4+4 ให้ใช้ ก็น่าสนใจ หมายถึงเป็นแบบ 4 pin สองตัวประกบกันเป็น 8 pin และแยกกันได้เมื่อต้องการใช้แบบ 4 pin
4. ควรเลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์สำหรับต่อกับฮาร์ดดิสก์หรือออปติคอลไดร์ฟแบบ SATA อย่างน้อย 4 ชุด ถ้ามากกว่าได้ก็ยิ่งดี
5. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดพลังสูงก็มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีคอนเน็คเตอร์ที่เรียกว่า PCI-E ซึ่งจะเป็นคอนเน็คเตอร์แบบ 6 pin อย่างน้อยหนึ่งเส้น แต่ถ้าจะให้ดีก็ดูรุ่นที่มันมี PCI-E 6 pin อย่างน้อยสักสองเส้นจะดีที่สุด
6. ถ้าคุณต้องการใช้กราฟิกการ์ดแบบ SLI หรือแบบ CrossFire ก็ให้มองหาพาวเวอร์ซัพพลายที่มีโลโก้ประเภท SLI Ready หรือ CrossFire Ready เอาไว้ได้เลย เพราะกราฟิกการ์ดพวกนี้จะต้องใช้พลังงานที่สูง
7. เลือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายเป็นอุปกรณ์ตัวสุดท้าย โดยคุณควรจะทำการดูคู่มือของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นก่อนว่าต้องการแรงดันไฟแต่ละแบบเป็นอย่าไร แล้วลองใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่างตารางที่ 6 หรือถ้าขี้เกียจจริงๆ ก็ให้ลองสำรวจดูว่าคู่มือที่เราอ่านมานั้นมีอุปกรณ์ตัวไหนที่บอกว่าต้องใช้พาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์ เท่าที่ลองใช้วิธีนี้ เราพบว่ากราฟิกการ์ดจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเลือกพาวเวอร์ซัพลายได้ดีที่สุด เพราะในคู่มือของกราฟิกการ์ดจะบอกเลยว่าควรจะใช้กับพาวเวอร์ซัพพลายขนาดกี่วัตต์
วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)